รู้ทันโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี ลดความเสี่ยงดีกว่ารักษา

โรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี เป็นมะเร็งที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับ 2 มักพบในเพศชาย เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงมากกว่าผู้หญิงในระยะเริ่มแรก มักไม่มีการแสดงอาการของโรค

ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งตับ

1. ภาวะตับแข็งจากสาเหตุต่าง ๆ

2. ไวรัสตับอักเสบบีและซี

3. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

4. ไขมันพอกตับ

5. สารอะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin) ที่อยู่ในถั่วลิสงที่อับชื้น, พริกแห้ง, กระเทียม และหัวหอม เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งท่อน้ำดีในเนื้อตับ

1. ท่อน้ำดีอักเสบเรื้อรังจากสาเหตุต่าง ๆ โดยเฉพาะการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับซึ่งมักพบในผู้ป่วยที่บริโภคปลาน้ำจืดดิบ เช่น ก้อยปลาดิบ

2. โรคตับและท่อน้ำดีอื่น ๆ เช่น ซีสต์ของทางเดินน้ำดี (choledochal cyst), ตับแข็ง, นิ่วท่อน้ำดี เป็นต้น

แนวทางการป้องกัน

1. ลดหรือหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

2. หลีกเลี่ยงการรับประทานปลาน้ำจืดดิบ

3. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสารอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin)

4. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสารไนโตรซามีน (Nitrosamine)

5. ควรฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีตั้งแต่แรกเกิด

6. ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งตับ ได้แก่ ผู้ป่วยตับแข็ง และผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาตรวจคัดกรองมะเร็งตับ ได้แก่ การอัลตราซาวด์ตับ ร่วมกับการตรวจค่ามะเร็งในเลือด

หากสงสัยว่ามีความเสี่ยงต่อมะเร็งตับและท่อน้ำดีควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย จะช่วยให้สามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที และลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดีได้

”ลงทะเบียนเพื่อปลดล็อกบทเรียนที่เหมาะสมกับคุณ”