กินอย่างไรเมื่อเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่

เมื่อต้องเข้ารับการรักษา

1. เมื่อต้องผ่าตัด ฉายแสงหรือให้ยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยมีความต้องการพลังงานที่เพียงพอ และโปรตีนที่สูงขึ้นเพื่อช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวจากการรักษา

2. เน้นบริโภคโปรตีนคุณภาพสูง ได้แก่ เนื้อปลา เนื้อไก่ ไข่ ถั่วเหลือง หรือเสริมด้วยอาหารทางการแพทย์ ถ้าบริโภคจากอาหารปกติได้ไม่เพียงพอ

เมื่อลำไส้อุดตัน

1. ลำไส้อุดตันที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข กากอาหารอาจจะไปอุดตันทำให้มีอาการท้องอืด ปวดท้อง

2. ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีกากใย เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี เป็นต้น

เมื่อให้ยาเคมีบำบัด

1. ผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด อาจจะมีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ทำให้ติดเชืัอง่าย

2. ควรบริโภคอาหารปรุงสุกด้วยความร้อนใหม่ ๆ

3. หลีกเลี่ยงอาหารสดที่เสี่ยงการปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น ผักสด ผลไม้เปลือกบาง ผลไม้ที่มีรอยช้ำ อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ รวมทั้งอาหารที่ตั้งทิ้งไว้หลังปรุงเสร็จแล้วเป็นเวลานาน

4. ไม่ควรรับประทานน้ำแข็งที่ไม่ทราบแหล่งผลิต

กินอย่างไรไม่ให้มะเร็งกลับมาเป็นซ้ำ

1. เมื่อหายจากมะเร็งลำไส้ใหญ่แล้ว ควรเน้นการบริโภคอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผักผลไม้ต่าง ๆ

2. ลดการบริโภคเนื้อแดง เช่น เนื้อหนู เนื้อวัว เนื้อแกะ ไม่เกิน 350 กรัมต่อสัปดาห์ (เทียบเท่าเนื้อสเต็กไม่เกิน 2 – 3 ชิ้น) ต่อสัปดาห์

3. เมื่อรับประทานเนื้อแปรรูปเพิ่มขึ้น 50 กรัม จะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่สูงขึ้นถึง 1.16 เท่า

4. เมื่อรับประทานเนื้อแดงเพิ่มขึ้น 100 กรัม จะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่สูงขึ้นถึง 1.12 เท่า

5. หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน

6. หลังจากรักษาหายแล้ว ผู้ป่วยควรลดน้ำหนักถ้าน้ำหนักเกิน

”ลงทะเบียนเพื่อปลดล็อกบทเรียนที่เหมาะสมกับคุณ”