ออฟฟิศซินโดรม โรคของคน Gen ใหม่ ดูแลอย่างไรไม่ให้เรื้อรัง

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) โรคยอดฮิตของพนักงานออฟฟิศยุคใหม่ ที่มักมีพฤติกรรมนั่งติดเก้าอี้และโต๊ะทำงานนานหลายชั่วโมง โดยไม่ได้ลุกเคลื่อนไหว หรือมีช่วงพักเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถระหว่างวัน ทำให้เกิดกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อได้ อาจเกิดจากสาเหตุดังนี้

1. นั่งทำงานด้วยท่าทางไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน เช่น นั่งห่อไหล่ขณะพิมพ์คีย์บอร์ด

2. นั่งก้มหรือจ้องจอคอมพิวเตอร์, ใช้สมาร์ตโฟนเป็นเวลานาน

3. ยืนหรือนั่งหลังค่อม คอยื่น ไหล่งุ้ม หรือนั่งไขว่ห้างเป็นประจำ

4. สะพายกระเป๋า หรือยกของหนักเป็นเวลานาน

ตัวอย่างอาการของออฟฟิศซินโดรม

1. ปวด ตึง หรือเมื่อยล้ากล้ามเนื้อเฉพาะส่วน เช่น บริเวณต้นคอ บ่า ไหล่ หลัง สะบัก

2. อาจมีอาการปวดร้าวไปบริเวณใกล้เคียงร่วมด้วย

3. ปวดร้าวขึ้นศีรษะ ตาพร่ามัว หูอื้อ

4. อาการที่เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับ เช่น มือชา นิ้วชา แขนชา

เคล็ดลับการดูแล

1. ปรับสภาพแวดล้อม ปรับระดับจอคอมพิวเตอร์ เลือกใช้โต๊ะและเก้าอี้ทำงานให้เหมาะสมกับสรีระร่างกาย

2. ไม่ควรนั่งทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานาน ควรพักอย่างน้อยทุก 30-60 นาที บริหารร่างกายเพื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อยึดเกร็ง

3. ออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพร่างกายอย่างสม่ำเสมอ

4. หากอาการเป็นเรื้อรัง หรือมีอาการปวดเพิ่มมากขึ้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เพื่อเข้ารับการตรวจประเมิน รักษา หรือทำกายภาพบำบัด รวมทั้งให้คำแนะนำเรื่องการออกกำลังกายอย่างถูกวิธี

”ลงทะเบียนเพื่อปลดล็อกบทเรียนที่เหมาะสมกับคุณ”